วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

การเลี้ยงปลาดุกในบ่อปูนซีเมนต์






ประโยชน์ของการเลี้ยงปลาในบ่อปูนซีเมนต์
1.ปริมาณพื้นที่น้อย และสามารถเลี้ยงได้ทุกที่
2.เวลาที่ใช้เลี้ยงสั้น รุ่นละประมาณ 90-120 วันเท่านั้น
3.ปลาดุกเป็นปลาที่อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
4.สามารถที่จะเลี้ยง ดูแลรักษาได้สะดวก บริโภคในครัวเรือนและสามารถที่จะนำไปขายเป็นรายได้เสริมได้
การเลือกสถานที่สร้างบ่อปลา
1.การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
- ควรจะเป็นบ่อที่อยู่ใกล้บ้าน หรือพื้นที่ที่สามารถดูแลได้        
- ควรอยู่ในที่ร่มหรือมีหลังคา เพราะปลาดุกไม่ชอบแสงแดด
- มีแหล่งน้ำอยู่ใกล้สำหรับการเปลี่ยนน้ำในบ่อปลา
2.การสร้างบ่อปลา
- บ่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร สูงประมาณ 50 เซนติเมตร
- ควรมี 2 บ่อเพื่อใช้ในการคัดปลาและสำรองน้ำไว้เปลี่ยน
- ผนังและพื้นบ่อควรใส่สารกันรั่วซึมด้วย
- มีท่อระบายน้ำ เพื่อช่วยในการถ่ายเทน้ำ
 การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยง
1.การเตรียมบ่อก่อนการเลี้ยงปลา ให้ตัดต้นกล้วยเป็นท่อใส่ลงไปในบ่อ แล้วเติมน้ำให้ท่วม แช่ไว้ประมาณ 3-4 วัน จากนั้นเปลี่ยนต้นกล้วย แล้วแช่ไว้อีกครั้งเพื่อให้หมดฤทธิ์ปูน แล้วล้างทำความสะอาด
2.ควรตรวจสอบสภาพน้ำให้เป้นกลาง หมดฤทธิ์ของปูนขาวแล้ว หรือถ้าหากมีตะใคร่น้ำเกาะติดที่ข้างบ่อแสดงว่าดี
3.น้ำที่ใช้เลี้ยงปลาต้องเป็นน้ำจากหนอง คลอง บึง และต้องตรวจสอบว่ามีศัตรูของปลาเข้ามาในบ่อหรือไม่
4.น้ำฝน น้ำบาดาล น้ำประปา ควรที่จะพักไว้ประมาณ 3-4 วันก่อนนำไปใช้
อัตราการปล่อยปลาเลี้ยง
1.เลือกปลาที่จะเลือกความยาวประมาณ 5-6 เซนติเมตร
2.อัตราการปล่อยลงเลี้ยงในบ่อซีเมนต์กลมเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ลึกประมาณ 50 เซนติเมตร ประมาณ 80-100 ตัว
3.ก่อนการปล่อยปลาลงเลี้ยงนั้นควรใส่เกลือประมาณ 2-3 1ช้อนแกง เพื่อช่วยปรับสภาพน้ำ
4.ระดับน้ำที่ปล่อยปลาครั้งแรกประมาณ 10-15 เซนติเมตร
5.การปล่อยปลาควรปล่อยในตอนเช้า
6.ควรนำถุงปลาที่จะปล่อย นำไปแช่ในบ่อปลาก่อนประมาณ 30 นาที เพื่อให้อุณหภูมิน้ำในถุงและน้ำในบ่อปลาไม่แตกต่างกันป้องกันปลาตายได้
7.ควรมีกิ่งไม้หรือผักตบให้ปลาหลบซ่อน เพราะปลาตัวใหญ่จะกวนปลาตัวเล็ก
8.ควรมีที่กำบังแดด
การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
1.เริ่มเลี้ยงในระดับน้ำ 10-15 เซนติเมตร
2.เพิ่มระดับน้ำอีก  5-10 เซนติเมตร เมื่อเลี้ยงได้ประมาณ 10-15 วัน
3.ระดับน้ำควรสูงสุดไม่เกิน 40 เซนติเมตร
4.เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์
5. ในการเปลี่ยนน้ำแต่ละครั้งไม่ควรถ่ายออกหมด ถ่ายออกประมาณ 1 ส่วน 3 ของน้ำในบ่อ
6.ขณะเปลี่ยนถ่ายน้ำไม่ควรรบกวนให้ปลาดุกตกใจ เพราะอาจทำให้ปลาไม่กินอาหาร 2-3 วัน
อาหารและการให้อาหารปลา
1.อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ
- ปล่อยขนาด 5-6 เซนติเมตร ให้อาหารปลาดุกรุ่นเล็ก
- ปลาขนาด 8 เซนติเมตร ให้อาหารปลาดุกรุ่นกลาง
2.อาหารสด เช่น เศษปลา ปลวก โครงไก่ ไส้ไก่ การให้อาหารควรให้อาหารวันละประมาณ 3 ครั้ง ในช่วงเวลา เช้า กลางวัน เย็น ให้อาหารครั้งละประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลาต่อวัน (หรือให้กินจนอิ่ม)
โรคปลาดุกและการรักษา
1.โรคกะโหลกร้าว แก้ไขโดยการผสมวิตามินซี 1กรัมกับอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 15 วัน
2.โรคจากเชื้อแบคทีเรียและแผลข้างตัวปลา ใช้ยาปฏิชีวนะผสมอาหาร 1 กิโลกรัม ให้ปลากินติดต่อกัน 10 วัน
3.หากมีปลาตายและเป็นแผลตามลำตัวให้ทำลายปลาตาย เช่น เผาหรือฝัง
การป้องกันและรักษาโรคปลาดุก
1.ไม่ปล่อยปลามากจนเกินไป
2.ไม่ให้อาหารมากจนเกินไป
3.รักษาคุณภาพของน้ำให้เหมาะสม
4.เปลี่ยนถ่ายน้ำทุกสัปดาห์